วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Cognitive domain


พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain) พฤติกรรมด้านนี้เกี่ยวข้องกับ การรับรู้ การรู้ การจำข้อเท็จจริงต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาความสามารถและทักษะทางสติปัญญา การใช้วิจารณญาณเพื่อประกอบการตัดสินใจ พฤติกรรมด้านนี้ประกอบด้วยความสามารถระดับต่าง ๆ คือ ความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ(comprehension) การประยุกต์หรือการนำความรู้ไปใช้ (Application) การวิเคราะห์ (analysis) การสังเคราะห์(Synthesis) และการประเมินผล (evaluation)

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Psychomotor Domain




พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (psychomotor domain) เป็นพฤติกรรมที่ใช้ ความสามารถทางร่างกายแสดงออก ซึ่งรวมทั้งการปฏิบัติ หรือพฤติกรรมที่แสดงออกและ สังเกตได้ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ หรืออาจจะเป็พฤติกรรมที่ล่าช้า คือ บุคคลไม่ได้ปฏิบัติทันที แต่คาดคะเนว่าอาจจะปฏิบัติในโอกาสต่อไป พฤติกรรมการแสดงออกนี้เป็นพฤติกรรมขั้น สุดท้ายที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยพฤติกรรมระดับต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเป็น ส่วนประกอบ (ทางด้านพุทธิพิสัย และด้านจิตพิสัย) พฤติกรรมด้านนี้เมื่อแสดงออกมาจะ สามารถประเมินผลได้ง่าย แต่กระบวนการที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมนี้ต้องอาศัยเวลาและการ ตัดสินใจหลายขั้นตอนศึกษาเพิ่มเติมจาก ทักษะพิสัยตามแนวคิดนักการศึกษา

Effective domain


พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (effective domain) พฤติกรรมด้านนี้หมายถึงความสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึก ท่าที ความชอบ ไม่ชอบ การให้คุณค่า การยอมรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงค่านิยมที่ยึดถืออยู่ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในจิตของบุคคล ยากแก่การอธิบาย พฤติกรรมด้านนี้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การรับรู้หรือการให้ความสนใจ (Receiving or attending) การตอบสนอง (responding) การให้คุณค่าหรือการ เกิดค่านิยม (Valuing) การจัดกลุ่ม (organizing) และการแสดงลักษณะตามค่านิยมที่ยึดถือ
(Characterization by a value)

พฤติกรรมการเรียนรู้

....................พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others 1965) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้
....................1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
....................2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
....................3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ ศึกษาต่อจาก พฤติกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของนักการศึกษา

การเรียนรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน




.............การเรียนรู้จากการทำงานเพื่อเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุอันตรายหรือจากการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานถือเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญเพราะ อุบัติเหตุ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นโดยมิได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าไม่มีการควบคุม และเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องการซึ่งจะเข้าไปขัดขวางการทำงานปกติของบุคคล หรือเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บ หรือเกือบจะได้รับบาดเจ็บ (Anton 1989: 31)
.............ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง สภาวการณ์ที่ปราศจากอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ พิการ ตาย อันเนื่องมาจากการทำงาน ทั้งต่อบุคคล ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม (พรเกียรติ เนติขจร 2546:11) ทั้งนี้การประสบอันตรายจากการทำงานแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต ผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากจะส่งผลต่อผู้ที่ประสบอุบัติเหตุที่ต้องได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางร่ายกายและจิตใจ การสูญเสียรายได้ที่เคยได้รับ การสูญเสียเงินในการรักษาพยาบาล หรือสูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพต่อไปได้อีกแล้ว สมาชิกในครอบครัวของผู้ประสบอุบัติเหตุก็ได้รับผลกระทบไปด้วย

การเรียนรู้ของมนุษย์


...............การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการศึกษาตลอดชีวิตตั่งแต่มนุษย์เกิดมาลืมตามาดูโลกก็เริ่มเรียนรู้เพื่อมีชีวิตรอด ทารกมีการเรียนรู้จากการร้องให้มารดาจะตอบสนองโดยการให้นม ให้อาหาร ให้ความอบอุ่น ให้ความรัก จึงเปรียบกันว่าครูคนแรกของมนุษย์คือพ่อแม่ พี่น้อง ญาติมิตร การเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการของมนุษย์จะเริ่มจากการที่ได้รับการอบรมสั่งสอนในครอบครัว ชุมชน จากการได้ฟังเรื่องเล่าสืบต่อกันมา กฎข้อห้าม ประเพณี วัฒนธรรมของสังคมความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลต่างๆ และการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคมการสนทนาระหว่างกลุ่มเพื่อนฝูง และจากการทำงาน(อุ่นตา นพคุณ 2523:12)
...............การเรียนรู้นำมาซึ่งความเข้าใจในสภาวะที่ตนเองเป็นและเผชิญอยู่ ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสภาวะความเป็นไปของโลก ของสังคม ของคู่แข็งขัน มีความเข้าใจในวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญต่อการประเมินวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ เข้าใจในความผิดพลาด ความล้มเหลวในอดีตเพื่อการปรับปรุงและการพัฒนาให้ดีขึ้น การเรียนรู้จึงเป็นคำตอบแห่งความสำเร็จของทุกบุคคล ทุกองค์กร และทุกสังคม จนอาจกล่าวได้ว่า “ในโลกปัจจุบันไม่มีใครจะสามารถอยู่รอดหรือประสบความสำเร็จได้ถ้าหากไม่เรียนรู้” (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ 2539:19) การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลและเป็นปฏิสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้บุคคลได้สนองความต้องการของเขาและจะทำให้เขาสามารถต่อสู้กับสภาวะแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมต่อไปเบอร์ตัน (Crow&Burton อ้างถึงในสุวัฒน์ วัฒนวงศ์ 2538:38)

สาเหตุของการประสบอันตรายจากการทำงาน


.สาเหตุโดยทั่วไปของการประสบอันตรายจากการทำงาน
สามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุ (Gilmer 1971, อ้างถึงใน ชัยวัฒน์ ทิพย์ลมัย 2543 : 3) คือ
...............1. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe act) เป็นการกระทำที่เกิดจากตัวคนงานชอบ ปฏิบัติงานด้วยวิธีการที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัย การไม่ใช้ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การเล่นหยอกล้อกัน หรือการดื่มสุราหรือของมึนเมาขณะ ปฏิบัติงาน
...............2. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe condition) เป็นสภาพแวดล้อมหรือ สภาพการทำงานที่เป็นอันตรายซึ่งอาจทำให้ประสบอันตรายได้ เช่น เครื่องจักรไม่มีเครื่องป้องกัน อันตราย หรือขาดระบบควบคุมมลพิษ จึงทำให้อากาศในสถานที่ทำงานเป็นอันตราย มีฝุ่นหรือ สารเคมีเป็นพิษ

................สาเหตุที่สนับสนุนให้ประสบอันตราย ได้แก่
................1. ปัจจัยเกี่ยวกับคนงาน เช่น ประมาท ขาดความรู้ ขาดจิตสำนึก และไม่ตระหนักถึง ความปลอดภัย มีทัศนคติที่ไม่ดี ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ตื่นเต้นตกใจง่าย เป็นต้น
................2. ปัจจัยเกี่ยวกับการบริหารหรือจัดการ เช่น ขาดการสอน อบรม หรือให้ความรู้ด้านความปลอดภัย ไม่จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้

ท่านได้รับความรู้จากการอ่านบทความนี้มากน้อยเพียงใด

ท่านมีความพึงพอใจกับบทความนี้มากน้อยเพียงใด